Framework
Management Tool Box : Visioning
ด้าน
Leading
วิสัยทัศน์ (Visioning) คือ กระบวนการกลั่นกรองค่านิยม ให้เกิดความชัดเจน มุ่งเน้นในพันธกิจ
และมุ่งมั่นให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ
โดยเริ่มต้นจากการสร้างความชัดเจนให้กับค่านิยม การตรวจสอบสถานการณ์ ปัจจุบัน การกำหนดพันธกิจ การสร้างวิสัยทัศน์ และการลงมือปฏิบัติ
ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
รวมน้ำใจ ใฝ่คุณธรรม
นำสู่ความเป็นเลิศ
เหตุปัจจัยภายนอก คือ สภาพแวดล้อม ได้แก่ ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนร่วมงาน กฎระเบียบและบรรยากาศในการทำงาน รวมทั้งสภาพของสังคมรอบข้าง ถ้าเหตุปัจจัยภายนอกดี ให้ความสำคัญและปกป้องเชิดชูผู้ที่ยึดมั่นในค่านิยมอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีขวัญมีกำลังใจ และเชื่อมั่นที่จะยึดถือค่านิยมต่อไป
2) การตรวจสอบ (Scanning) คือ การวินิจฉัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กรการสร้างความเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่หน่วยงานอยู่เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างวิสัยทัศน์ ซึ่งการสำรวจสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันประกอบด้วย การพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันของหน่วยงานการพิจารณาสถานการณ์ในอดีตที่ผ่านมา การประเมินโอกาสและอุปสรรค การทำการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของตน และการระบุปัญหาวิกฤติ หรือทางเลือกที่จะต้องเผชิญในอนาคต
3) พันธกิจ (Mission) คือ จุดประสงค์หลักที่หน่วยงานได้สร้างขึ้นมา โดยมีการระบุไว้อย่างชัดเจน กะทัดรัด และสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง พันธกิจของหน่วยงานนั้น คือ การรวมเอาพันธกิจส่วยตัวของบุคลากรทั้งหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกันโดยการพิจารณาจากโครงสร้างของหน่วยงาน และภาระหน้าที่ที่แต่ละบุคคลรับผิดชอบ โดยอิงกับพื้นฐานความเป็นมาในอดีต และการคาดการณ์ไปในอนาคต และควรมีการเปรียบเทียบระหว่างมุมมองภายในหน่วยงานและมุมมองจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งจะช่วยให้พันธกิจที่ได้มีความสอดคล้องกับสิ่งที่หน่วยงานตั้งใจไว้
4) การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) คือ วิถีสู่ความเป็นเลิศซึ่งหน่วยงานต้องการสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสร้างโอกาสที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต ด้วยการสร้างภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้เกิดการกระทำของบุคคล อันนำไปสู่ความเป็นไปได้นั้นๆ
วิสัยทัศน์ที่ทรงพลังจะต้องแสดงถึงจุดหมายปลายทาง ง่ายแก่การสื่อสารและสร้างความเข้าใจ เข้าถึงจิตวิญญาณขององค์กร แสดงถึงความขาดหายที่บุคลากรจะต้องหาสิ่งนั้นให้พบ กระชับและสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้ ทำให้เกิดความมุ่งมั่น อธิบายถึงอนาคตที่ต้องการและมีความหมายสามารถสร้างความรู้สึก/ประสบการณ์/ทำให้ทุกคนกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติเมื่อได้ยินได้เห็น ทำให้ทุกคนเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นถึงสิ่งที่ตนจะกระทำว่ามีความหมายต่อองค์การอย่างไร ก่อให้เกิดแรงกระตุ้น แม้ในยามที่ท้อแท้เป็นสิ่งที่ดูแล้วเห็นว่าเป็นไปได้ เป็นสิ่งที่ท้าทาย และต้องมีการขยายขีดความสามารถ จึงจะสามารถทำให้สำเร็จได้
5) จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (Implementation) ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์แล้ว การวางแผนเพื่อการปฏิบัติจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการในการวิเคราะห์หาว่าหน่วยงานจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างจึงจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยชี้หนทางที่ดีที่สุดที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ สิ่งที่หน่วยงานจะต้องคำนึงถึงในการนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ คือ วิธีการในการก้าวไปสู่ สถานะที่ต้องการ สิ่งที่ทำให้เราทราบว่าเราได้ถึงเป้าหมายนั้นแล้ว สิ่งที่ช่วยเหลือและขัดขวางเราจากเป้าหมาย กลยุทธ์และวิธีการที่จำเป็น สิ่งที่เราควรทำต่อหรือหยุดปฏิบัติการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่จะทำให้เกิดความพยายามในการปฏิบัติ และระยะเวลาในการปฏิบัติ สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา กระบวนการในการสร้างความชัดเจนให้กับค่านิยม พันธกิจ และวิสัยทัศน์ถือเป็นภารกิจของทั้งส่วนตัวและหน่วยงาน คงไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานเป็นผู้เริ่มต้น คำตอบอยู่ที่ตัวเราว่า สิ่งที่เราต้องการให้หน่วยงานของเราเป็น ให้เป็นแรงผลักดันไปสู่การเริ่มต้นในการสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่หน่วยงาน
รวบรวมข้อมูลโดย : พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น