Framework
Management Tool Box: Value Chain Analysis
ด้าน Planning
1.
เครื่องมือนี้คืออะไร
ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value
Chain) (ไมเคิล อีพอร์ตเตอร์) คือ การเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
2.
มีองค์ประกอบอะไร
สามารถแบ่งออกได้สองกิจกรรมได้แก่
กิจกรรมพื้นฐานคือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ
ขั้นตอนการแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูป
จนการนำสินค้าสำเร็จส่งถึงมือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย และกิจกรรมสนับสนุน
คือกิจกรรมที่สนับสนุนกิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนด้วยกันเอง
กล่าวคือเริ่มต้นตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบจากฝ่ายจัดหาหรือผู้จัดหา
ป้อนวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด
และสิ้นสุดที่การกระจายสินค้าสำเร็จรูปสู่ผู้บริโภค
3.
โมเดลนี้ใช้เพื่อ ???
การจัดการห่วงโซ่คุณค่า
เป็นการจัดการโดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ
เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า (Willing
to pay) ในกระบวนการผลิตแต่ละกิจกรรมย่อมสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
การเชื่อมโยงแต่ละกิจกรรมทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของกระบวนการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
แน่นอนเราสามารถนำประโยชน์จาก Value chain เข้ามาสู่โมเดลเพชรของไมเคิล อีพอร์ตเตอร์ ความเชื่อมโยง (Linkages)
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ ภายใน Value Chain ขององค์กร
รวมทั้งความเชื่อมโยงของกิจกรรมดังกล่าวกับกิจกรรมใน Value Chain ของผู้จัดจำหน่าย(Supplier) และสามารถทำให้เกิดความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ขององค์กร ดังนั้น แนวคิด
Value Chain คือการเพิ่มความได้เปรียบเชิงแข่งขันขององค์กรภายใต้กรอบของกลยุทธ์การแข่งขัน
ที่องค์กรยึดถือ แบ่งเป็นสองกลยุทธ์ใหญ่ๆ คือ กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุนต่ำ
(Cost Leadership) และกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง
(Differentiation) การปรับเปลี่ยน Value Chain เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันทั้งสองกลยุทธ์ต่างกันคือ กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุนต่ำ คือ ความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Advantage) ทำให้องค์กรสามารถตั้งราคาสินค้าต่ำกว่าคู่แข่ง ส่วนกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง(Differentiation) คือ ความสามารถในการสร้างสิ่งที่เป็นคุณค่า ที่ลูกค้าต้องการให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ขององค์กรในขณะที่ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งไม่มีคุณค่าดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ขององค์กรที่ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างจึงมีความโดดเด่นเหนือผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งจนสามารถจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าคู่แข่งได้
รวบรวมโดย : พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น