เพื่อนที่ได้รับความสนใจเนื้อหา เกี่ยวกับ กลยุทธ์ต่าง วันนี้จะได้มาอธิบายเกี่ยวกับ ความยืดหยุ่น เกี่ยวกัยการวางแผนกลยุทธ์ และ ประสิทธิภาพของการดำเินินงาน และวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ
โดยความยืดหยุ่นที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนกลยุทธ์และคามสัมพันธ์ประสิทธิภาพขององค์กรแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ( Operational Flexibility) หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวได้เร็วต่อข้อเสนอของตลาด ส่วนประสมของสินค้าหรือบริการ และกำลังการผลิตสินค้า
2. ความยืดหยุ่นทางด้านการเงิน (Financial Flexibility) ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวเพื่อเข้าถึงและเตรียมพร้อมกับทรัพยากรทางการเงิน
1. ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ( Operational Flexibility) หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวได้เร็วต่อข้อเสนอของตลาด ส่วนประสมของสินค้าหรือบริการ และกำลังการผลิตสินค้า
2. ความยืดหยุ่นทางด้านการเงิน (Financial Flexibility) ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวเพื่อเข้าถึงและเตรียมพร้อมกับทรัพยากรทางการเงิน
3. ความยืดหยุ่นในโครงสร้างองค์กร (Structural Flexibility) หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวเพื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร
4. ความยืดหยุ่นของเทคโนโลยี (Technological Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการเลือกเทคโนโลยีการผลิตของสายผลิตภัณฑ์กับความต้องการในภาวการณ์แข่งขัน
ซึ่งจากความยืดหยุ่นที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนกลยุทธ์แและประสิทธิภาพขององค์กรนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) ประสิทธิภาพทางการเงิน (Financial performance) ประกอบด้วยความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน (Operational flexibility) และความยืดหยุ่นทางการเงิน (Financial flexibility)
2) ประสิทธิภาพที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน (Non-financial performance) ประกอบด้วยความยืดหยุ่นทางด้านโครงสร้าง (Structural flexibility) และความยืดหยุ่นทางเทคโนโลยี (Technological flexibility)
การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ
เมทริกซ์การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณคือวิธีการจัดการเชิงกลยุทธ์ขั้นสูงเพื่อใช้ในการการประเมินกลยุทธ์ที่เลือกมานั้นว่าเหมาะสมแค่ไหน โดยจะอาศัยข้อมูลเดิมที่วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้
วิธีการ ของ QSPM ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ซึ่งเป็นกลยุทธ์การกำหนดกรอบการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ เมทริกซ์การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณหรือ QSPM ให้วิธีการวิเคราะห์สำหรับการเปรียบเทียบการกระทำทางเลือกที่เป็นไปได้วิธีการ QSPM อยู่ภายในขั้นตอน 3 ขั้นตอน ของการกำหนดกรอบการวิเคราะห์กลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์การจัดการกลยุทธ์โดยรวมทั้งหมดขององค์ โดยการระบุปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กรนั้นเองและจะได้ออกมาเป็นในรูปของเมทริกซ์การประเมินภาพแวดล้อมภายนอก(EFE) ,เมทริกซ์รายละเอียดของการแข่งขัน(CPM) เป็นการเปรียบเทียบปัจจัยในการแข่งขันกับคู่แข่ง และเมทริกซ์กระประเมินสภาพแวดล้อมภายใน (IFE) เพื่อดูตำแหน่งในการกำหนดกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่ระบุและวิเคราะห์ปัจจัยกลยุทธ์ที่สำคัญเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับ QSPM เราสามารถกำหนดประเภทกลยุทธ์ตามที่ต้องการอยากจะกำหนด ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือการบริหารกลยุทธ์จากขั้นที่ 2โดยการจับคู่ (Comparison stage) ซึ่งประกอบด้วย
- SWOT Analysis ( or TOWS) เป็นเครื่องมือนำทางองค์กรไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในระดับองค์ โดยใช้หลักการในการจับคู่ประเด็นต่างๆเข้าด้วยกัน ทำไมถึงมีการจับคู่ เพราะว่า SWOT มีปัจจัยหลัก 4 ตัวด้วยกันคือ Strengths (S), Weaknesses (W) ,Opportunities(O) และ Threats (T),
- SPACE Matrix เป็นเทคนิคในสร้างทางเลือกในการกาหนดกลยุทธ์ที่ผู้วิเคราะห์ต้องการให้ความสาคัญต่อสถานการณ์ทางการเงิน การได้เปรียบทางการแข่งขัน ความสามารถของธุรกิจในอุตสาหกรรมและความมั่นคงของสภาพแวดล้อม
- BCG Matrix ผู้คิดค้นคือกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาที่ชื่อว่า บอสตัน คอนซัลติ้ง กรู๊ป สำหรับชื่อ BCG นี้ก็ย่อมาจากชื่อของบริษัท ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงต้นๆ ของทศวรรษ 1970 มีลักษณะการใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจและมองเห็นส่วนของธุรกิจตนเองว่า ส่วนไหนสามารถทำรายได้ให้กับองค์กร และควรจะทุ่มเททรัพยากรลงไปตรงไหนดีถึงจะคุ้มค่าและให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั้งยืน
- IE Matrix เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
- Grand strategy matrix เป็นแมททริกซ์ความดึงดูดทางอุตสาหกรรม-จุดแข็งของธุรกิจ (Industry attractiveness- business strength matrix) เป็นวิธีการที่ General electric ได้คิดค้น ในบางครั้งเรียก GE matrix ซึ่งพิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจภายนอก (Critical external factors : CEF) ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจควบคุมไม่ได้ และปัจจัยภายในที่ธุรกิจควรดาเนินการเพื่อที่จะทาให้ธุรกิจประสบผลสาเร็จ(Critical success factors : CSF)
ส่วนของ BCG และ IE ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะตอบสนองต่อองค์การที่มีการดำเนินงานในหลายด้านหรือหลายธุรกิจ โดย BCG จะเน้นในสองมิติ กล่าวคือ มิติของส่วนแบ่งการตลาดสัมพันธ์ (RelativeMarket Share Position)และอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม(Industry Growth Rate ) (ผศ.ดร.วรางคณา ผลประเสริฐ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น